การกำหนดองค์ความรู้เพื่อการจัดการความรู้(KM)
หลายองค์กรโดยเฉพาะภาคราชการจัดทำการจัดการความรู้
โดยกำหนดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์น้อย หรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรมาทำจัดการความรู้
ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
เราจึงควรตั้งคำถามดังนี้
1.
สิ่งที่องค์กรต้องทำ : หมายถึงสิ่งที่องค์กรต้องทำ
เพื่อให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต
2.
สิ่งที่องค์กรสามารถทำ
: หมายถึง สิ่งที่องค์กรได้ทำแล้ว
และทำได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
หลังจากตอบคำถามข้อ 1
และ ข้อ 2 องค์กรจะได้ strategy gap ที่องค์กรต้องหากลยุทธ์หรือวิธีการพัฒนาต่อไป
3.
สิ่งที่องค์กรต้องรู้
: หมายถึงสิ่งที่องค์กรต้องรู้
เพื่อให้สามารถดำเนินการสิ่งที่องค์ต้องทำได้ในอนาคต
4.
สิ่งที่องค์กรรู้ :
หมายถึงสิ่งที่องค์กรมีองค์ความรู้อยู่แล้ว
เมื่อเปรียบเทียบองค์ความรู้ข้อ 3
และ ข้อ 4 เราจะได้ Knowledge gap ซึ่งเป็นองค์ความรู้เพื่อการจัดการความรู้ต่อไปนั่นเอง ดังรูปที่ 1
1.วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ (KM
Vision) หมายถึง เป้าหมายที่ยอดเขา เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราจะต้องการจัดการความรู้อย่างไรในอีก
5-10 ปี
เนื่องจากการจัดการความรู้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการนาน
2. เป้าหมายการจัดการความรู้ (KM
Objective) หมายถึง เป้าหมายที่เชิงเขา
เป็นการตั้งเป้าหมายในระยะเวลาที่สั้นกว่า เพื่อสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายในระยะ 1-2
ปี แล้วค่อยขยับใหม่ เพื่อให้ได้ตามวิสัยทัศน์การจัดการความรู้
3. กลยุทธ์การจัดการความรู้ (KM
Strategy) หมายถึง
วิธีการหรือแนวทางที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้ตาม เป้าหมายการจัดการความรู้
และวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ ซึ่งอาจมีหลากหลายวิธีการที่ให้เลือก
ไม่ว่าจะเดินทางตรง หรืออ้อม
ตัวอย่างการกำหนด
วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ เป้าหมายการจัดการความรู้ และกลยุทธ์การจัดการความรู้ของบริษัท
ซีร็อกซ์
• Knowledge
gap :
องค์ความรู้จากประสบการณ์ของวิศวกรซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารในการแก้ไขปัญหาการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารไม่ได้จัดเก็บไว้และใช้ประโยชน์
• Knowledge
vision : เชื่อมโยงและรวบรวมองค์ความรู้
เพื่อใช้ประโยชน์ให้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว
• Knowledge
objective : เพื่อให้วิศวกรซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารใช้องค์ความรู้ในการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
• Knowledge
strategy : สร้างการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของวิศวกรซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารอย่างเป็นระบบ
• การวัด
: % ของเทคนิคการซ่อมเครื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น
และ % ของการใช้เทคนิคใหม่ๆนั้นซ้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น