ทฤษฏี
อมีบา กับ ความยั่งยืนขององค์กร
ท่ามกลางวิกฤตเศรษกิจ ที่ปรึกษานึกถึง กูรูท่านหนึ่งเคยพูดว่า
สัตว์ที่แข็งแรงที่สุด ใช่ว่าจะสามารถดำรงอยู่ในโลกใบนี้ได้ แต่สัตว์ที่สามารถดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ยาวนานที่สุด
คือสัตว์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปต่างหาก
จากข้อความข้างต้น เราจะพบว่าในยุกต์ดึกดำบรรพ์
ไดโนเสาร์ซึ่งเป็นสัตว์ที่แข็งแรงที่สุดในขณะนั้น ไม่สามารถอยู่รอดได้ แต่สัตว์ประเภทเซลเดียว
เช่น อมีบา สามารถดำรงเผ่าพันธ์อยู่รอดเป็นหมื่นๆปี ซึ่งทำให้มีการยกย่องว่าเป็น “ King
of animals” หรือราชาของสัตว์ทั้งปวง แม้แต่มนุษย์เรา ซึ่งมีความฉลาด
สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ มาเพียงห้าพันปีเอง
ทำให้เกิดทฤษฎี อมีบาขึ้นมา
เมื่อนำทฤษฎีนี้มาใช้เปรียบเทียบกับความอยู่รอดขององค์กร
เราสามารถใช้ทฤษฎี อมีบา มาอธิบายได้ว่า องค์กรที่สามารถอยู่รอดได้
ไม่ใช่องค์กรที่ได้กำไรสูงสุด หรือองค์กรที่ครองยอดขายสูงสุด
แต่ต้องเป็นองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ยกตัวอย่างโตโยต้า
เมื่อได้อ่านประวัติของบริษัทโตโยต้าในอดีตอยู่ในแวดวงสิ่งทอ แต่ช่วงหลังสงครามโลก เจ้าของ มองว่าในอนาคตของโตโยต้าคือ
รถยนต์ เป็น สิ่งที่สำคัญมากในอนาคต
จึงได้ให้ลูกชายเรียนเกี่ยวกับเครื่องยนต์เพื่อเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ เมื่อลูกชายได้ไปดูงานที่ ฟอร์ด พบว่า
โรงงานฟอร์ดมีสต็อกอะไหล่จำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก
ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก แม้ว่ากระบวนการผลิตจะดีก็ตาม โตโยต้าไม่สามารถทำตามรูปแบบของฟอร์ดได้ เนื่องจากไม่มีทุนพอที่จะสต็อกชิ้นส่วนจำนวนมากได้ แต่โตโยต้าก็ไม่ยอมแพ้ และเมื่อได้เข้าไปดูใน supermarket ที่สหรัฐที่กำลังเติบโตขึ้นมา จึงเกิดความคิดว่าสามารถดัดแปลงโดยเลียนแบบการผลิตแบบฟอร์ด
แต่ไม่จำเป็นต้องสต็อกอะไหล่ไว้มาก โดยทำเลียนแบบเหมือน supermarket ซึ่งเมื่อมีการหยิบอะไหล่ไปใช้ 1 ตัว ก็นำมาใส่ไว้ 1ตัว เหมือนชั้นวางใน supermarket ทำให้ไม่ต้องสต็อกชิ้นส่วนจำนวนมาก ลดเงินที่ใช้ลงทุนได้มาก
นี้คือความสามารถในการปรับตัวของโตโยต้าที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอในการผลิตในลักษณะเดียวกับฟอร์ดได้ในช่วงสงครามโลก
แต่สามาถรถผลิตรถยนต์ออกจำหน่ายด้วยต้นทุนที่ใช้ต่ำกว่ามาก
เหมาะกับสภาพเศรษกิจของหลังสงครามโลกของญี่ปุ่น ที่ไม่มีทุนรอนเหมือนโลกตะวันตก
และสามารถพัฒนาหรือปรับตัวเองจนสามารถผลิตรถยนต์และทำกำไรสูงสุดในบรรดาค่ายรถยนต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น