การสร้างบรรยากาศกับการจัดการความรู้
จากการเป็นที่ปรึกษา
ด้านการจัดการความรู้มาหลายปี พบว่าบรรยายกาศในการจัดการความรู้เป็นสิ่งสำคัญ นอกเหนือจากกระบวนการจัดการความรู้
และการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแลกเปลี่ยนและสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมา การสร้างบรรยายกาศเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น
การสร้างบรรยากาศสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบหนึ่งที่นิยมมาก คือ การจัด layout เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ
ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ตามทฤษฏี SECI model ของ ศาสตราจารย์
Nonaka ซึ่งหลายบริษัทได้นำแนวคิดนี้มาจัด
layout ในบริษัทเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 (S)
การจัด
layout
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบบ Socialization (S) โดยมีการจัด layout ที่ทำให้พนักงานสามารถนั่งใกล้กันเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีคิด
ค่านิยม ฯลฯ ซึ่งความรู้เหล่านี้ยากที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นเอกสารได้ และเป็นการนำความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit
Knowledge ,T) มาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง
ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
รูปแบบที่ 2 (E)
การจัด layout เพื่อระดมความคิด ความรู้ ความเข้าใจ (tacit
knowledge) มาถ่ายทอดเป็น Explicit knowledge
หรือลายลักษณ์อักษร เป็นการแลกเปลี่ยนแบบ Externalization(E) อีกรูปแบบหนึ่งที่นิยม
มีบริษัทฝรั่งบางบริษัท มีปัญหาเมื่อพนักงานลาออก
ความรู้ได้ติดตัวพนักงานโดยยังไม่มีการถ่ายทอดให้พนักงานต้องทำงานแทน ทำให้เกิดการบังคับให้การจัดทำวิธีปฏิบัติงาน
ปีละ 6 เล่ม เพื่อเก็บองค์ความรู้นั้นกับองค์กร การจัด layout แบบนี้ มักมีกระดาน หรือ คอมพิวเตอร์เพื่อเก็บบันทึก
รูปแบบที่ 3 (C)
เป็นการรวบรวม
Explicit
knowledge ต่างๆ มาประมวลเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้สะดวก โดยจัด layout
ให้กลุ่มงานที่คอยรวบรวม Explicit knowledge
นั่งในที่สามารถนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวช่วยในการรวบรวมได้สะดวกและรวดเร็ว
โดยสามารถใช้ผนังกั้น เพื่อให้เกิดสมาธิได้ เช่น บริษัทซีร็อก
นำเอาเทคนิคการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารจากหลายประเทศทั่วโลกมาไว้ในWeb เดียวกัน เพื่อ share ให้พนักงานจากที่อื่นมาใช้
เรียกว่า Combination
รูปแบบที่ 4 (I)
เป็นการศึกษาเอกสารที่เป็น
Explicit
knowledge เช่น drawing คู่มือการทำงานต่างๆ เอกสารวิชาการ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ เรียกอีกอย่างว่า Internalization (I) ซึ่งการเก็บแบบนี้ต้องค้นหาง่าย ดังนั้น layout ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์นี้ด้วย
สรุป ในการจัด layout แต่ละครั้ง ควรคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ด้วยการแบ่งพื้นที่ โดยไม่ควรจัด layout แบบเดียวกันหมดค่ะ
กันยา
รุจิรานนทพงศ์
ผู้เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น