วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


Successful Resilient Organization   การสร้างองค์กรที่สามารถปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ

 

โลกของเรา ณ ขณะนี้ อยู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จนน่าประหลาดใจ ทั้งเกิดสภาวะร้อนมากขึ้น  และบางแห่งเกิดหิมะตก ทั้งที่ไม่เคยมีหิมะตกมาก่อน ซึ่งนักวิชาหลายท่านศึกษาและวิจัยว่าเป็นผลมาจาก climate change  อีกทั้งสภาพการดำเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชน มีความซับซ้อน ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา และยุ่งเหยิงมากขึ้น  การดำเนิธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวันนี้ ไม่ได้รับประกันว่าพรุ่งนี้จะเป็นเช่นเดิม  การอยู่รอดขององค์กรในบริบทเหล่านี้ ต้องการความคิดใหม่ๆ ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ  การเติบโตขององค์กร ที่ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง   

 
การที่องค์กรสามารถดำเนินงานประสบความสำเร็จ ได้ยั่งยืน ตามสภาพแวดล้อมที่กล่าวมา ต้องพัฒนาองค์กรให้เป็น Resilient Organization   เป็นองค์กรที่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขัน  โดยต้องสร้างผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่วางไว้ ขณะเดียวกันต้องสร้างนวัตกรรมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการวิจัยของประเทศอังกฤษพบว่า ช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา องค์กรมีการหยุดชะงักการดำเนินธุรกิจมากกว่า 50% เป็นการหยุดชะงัก เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เช่น ฝนตกหนัก พายุที่รุนแรง  เกิดน้ำท่วมที่ขยายวงกว้าง รวมทั้งภัยแล้ง ในประเทศไทย ก็คงไม่มีองค์กรใดที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลง ของสภาวะภูมิอากาศ  ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรต้องเตรียมพร้อม เพื่อปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อองค์กรสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง  อีกทั้งการดำเนินงานในปัจจุบันต้องมีการบริหาร supply chain, การ outsource, การผลิตและบริการแบบ LEAN,  การขนส่งแบบ Just in Time (JIT)  และยังมีความท้าทายต่างๆ อาทิ เช่น การรับมือกับ social network, TV  24 ชั่วโมง, และความต้องการของลูกค้าในรูปแบบต่างๆที่เข้มงวดมากขึ้น 

ผลกระทบจาก climate change ที่ทำให้องค์กรเกิดการหยุดชะงักมากที่สุด องค์กรสามารถนำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วยเทคนิคที่เรียกสั้นๆว่า 2A 2P 2R (Anticipation, Assessment, Prevention, Preparation, Response and Recovery)     



A1 : Anticipation เป็นการคาดการณ์ภัยคุกคามจาก climate change ต่อการดำเนินงานขององค์กรในอนาคต ซึ่งต้องวิเคราะห์บริบทองค์กร และ Foresight framework

A2 : Assessment เป็นการประเมินผลกระทบต่อการดำเนินงานที่สำคัญขององค์กร  และระดับความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญ

P1 : Prevention เป็นการวางกลยุทธ์ แนวทาง วิธีการ เพื่อในการรับมือเมื่อเกิดผลกระทบ

P2 : Preparation เป็นการเตรียมการตั้งแต่ จัดทำนโยบาย วัตถุประสงค์ แผนงาน การซักซ้อม เมื่อเกิดผลกระทบ

R1 : Response เป็นการจัดทำขั้นตอนการรับมือ ตอบโต้ ควบคุม เมื่อเกิดผลกระทบจาก เหตุการณ์ที่เป็นผลจาก Climate Change

R2 : Recovery เป็นขั้นตอนการฟื้นฟูหลังเกิดเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจเป็นปกติ

 

เทคนิคนี้สอดคล้องกับ ISO 22301 Societal Security: Business Continuity Management System   อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้มุ่งเน้น 2A 2P 2R เป็นขั้นตอนที่ใช้ในการวางแผนรับมือในทางปฏิบัติ ที่นานาประเทศใช้ โดยมีประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบ    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น